Programmer

โปรแกรมเมอร์

ลักษณะ่อาชีพเป็นอย่างไร?

อาชีพ : โปรแกรมเมอร์ (Programmer)

ลักษณะของอาชีพ

คอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์คือผู้นำข้อมูลไปออกแบบรายละเอียดการวางโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์  โดยเขียนโปรแกรมด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน เช่น ภาษาซี ภาษาจาวา เป็นต้น พวกเขามีหน้าที่เขียนและทดสอบรหัสหรือโค้ดเพื่อทำให้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ทำงานได้ โดยอาจมีนักวิเคราะห์ระบบช่วยทำการตรวจสอบอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจในผลลัพธ์การทำงาน และในกรณีที่เกิดปัญหาจากการทำงาน คอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์จะทำการตรวจสอบรหัสที่เกิดข้อผิดพลาดและซ่อมแซมแก้ไขให้ถูกต้อง

 

 

การทำงาน

ลักษณะงาน

       คอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่รับรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้งานจากนักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) แล้วจัดทำแผนขั้นตอนการทำงาน (Flow Chart) ที่ละเอียดและถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการเขียนโปรแกรมสำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่ร่วมกันกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ และในบางบริษัทหน้าที่งานทั้งสองมีความเกี่ยวพันกัน ซึ่งพวกเขาสามารถทำงานในด้านการพัฒนาได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การออกแบบโปรแกรม การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่นับตั้งแต่การสร้างต้นแบบ แผนภูมิแสดงรายละเอียดการเขียนรหัสต่างๆ เขียนและปรับปรุงรหัส และการออกแบบแอพพลิเคชั่นหรือระบบติดต่อประสานงานอื่นๆ

       โปรแกรมที่ถูกสร้างมีจุดประสงค์เพื่อจัดการรหัสคอมพิวเตอร์ที่มีความซับซ้อน โดยโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนแอพพลิเคชั่นในมือถือมีจะมีความซับซ้อนน้อยกว่าเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งระยะเวลาการทำงานในโปรแกรมที่ง่ายอาจใช้เวลาอันสั้น แต่สำหรับโปรแกรมที่มีความซับซ้อน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ อาจใช้เวลานานเป็นปีหรือมากกว่านั้น

ขั้นตอนการทำงาน

  • ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ในการทำงานของโปรแกรม และวางแผนโดยเขียนแผนภาพ ขั้นตอนของโปรแกรมโดยละเอียด
  • เขียนโปรแกรมด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น ภาษา C++ ภาษา Java
  • อัพเดทและพัฒนาขยายโปรแกรม
  • ทดสอบโปรแกรมและแก้ไขปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น
  • สร้างและทดสอบรหัสในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์

สถานที่ทำงาน

       โดยปกติคอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์มักจะทำงานประจำอยู่ใน office สำนักงาน หรือเป็นโปรแกรมเมอร์อิสระ ก็จะสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ให้เขียนโปรแกรม และมีอินเตอร์เน็ตในการติดต่อประสานงานเท่านั้น

ผู้ที่ต้องทำงานด้วย

  • โปรแกรมเมอร์ร่วมทีมในการสร้างโปรแกรมแต่ละครั้งอาจมีขนาดงานที่ใหญ่เกินกว่าโปรแกรมเมอร์คนหนึ่งจะแบกรับไว้ได้ ผู้ร่วมทีมจะช่วยประสานและแบ่งงานกันให้ภารกิจเสร็จลุล่วงได้อย่างถูกต้อง ทันเวลา
  • Business Analystทำหน้าที่ประสานงานและรับโจทย์จากลูกค้าหรือผู้บริหารที่ต้องการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วนำมาถ่ายทอดส่งต่อให้ทีมโปรแกรมเมอร์ดำเนินการ
  • System Analyst ช่วยทำหน้าที่จัดสรรและกระจายงานต่าง ๆ ไปให้โปรแกรมเมอร์ในทีม สร้างสรรค์โปรแกรมตามความถนัดและตามโจทย์ที่ได้รับจาก Business Analyst  โดย System Analyst  ต้องมีความรู้และเข้าใจระบบการทำงานของโปรแกรมเมอร์ เพื่อจะสามารถบริหารงานได้อย่างราบรื่น
  • Graphic Designerงานโปรแกรมที่เราเห็นสวยงามได้ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการเขียน Code จากโปรแกรมเมอร์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมองค์ประกอบจากเนื้อหาและงานภาพที่สวยงามจากการออกแบบของ Graphic Designer ด้วย

ความก้าวหน้าทางอาชีพ

นักคอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ที่มีความรู้พื้นฐานและประสบการณ์ สามารถพัฒนาต่อไปเป็นนักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ และถ้ามีประสบการณ์เพิ่มขึ้นบางคนสามารถพัฒนาเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์และขึ้นตำแหน่งผู้บริหารได้

 

ข้อดีของอาชีพ

  • มีโอกาสเติบโตในเส้นทางสายอาชีพจากองค์กรไปสู่ผู้บริหารระดับสูงได้ เพราะงานด้าน IT เป็นงานที่มีความสามารถเฉพาะทาง ประสบการณ์ที่สั่งสมมาจะช่วยผลักดันให้คนทำงานในระดับนี้สามารถเติบโตเป็นผู้บริหารระดับสูงได้ไม่ยาก
  • รายได้ค่อนข้างสูง และเป็นสายงานที่เป็นที่ต้องการในหลาย ๆ องค์กร

ข้อจำกัดของอาชีพ

  • ส่วนใหญ่งานเขียนโปรแกรมมักมาพร้อมความเร่งรีบ รวมทั้งต้องใช้ทักษะการแก้ปัญหาและความคิดสูงมาก ดังนั้นงานเร่งมากๆ อาจะสร้างความเครียดได้
  • บ่อยครั้งที่มีการเขียนโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ลูกค้าอาจขอแก้ไขงานใหม่ ซึ่งเวลายิ่งเหลือน้อยลง ยิ่งส่งผลกับการทำงานที่ยากลำบากขึ้น

คุณสมบัติที่เหมาะสมกับอาชีพ

  • มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และสนใจด้านการเขียนโปรแกรมความชอบและสนใจในการเขียนโปรแกรมเรื่องนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะเป็นหัวใจหลักของงานโปรแกรมเมอร์
  • ขวนขวายที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆในปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โปรแกรมเมอร์ต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ก้าวทันโลก และเครื่องมือที่จะช่วยให้การทำงานของเรารวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • มีสมาธิสูงและมุ่งมั่นงานการเขียนโปรแกรมเป็นงานที่ละเอียด โปรแกรมเมอร์มืออาชีพต้องใช้สมาธิสูง และต้องมีความมุ่งมั่นในการทำงานในแต่ละจุดให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
  • มีความคิดสร้างสรรค์สามารถประยุกต์และดัดแปลงความรู้ความสามารถทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี
  • ละเอียดถี่ถ้วนความละเอียดเป็นสิ่งสำคัญในการเขียนแต่ละรหัสลงไปบนคอมพิวเตอร์เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดเพียงตัวเดียวจะส่งผลต่อโปรแกรมทั้งหมด

ทักษะที่ควรมี

  • ทักษะด้านคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะคอมพิวเตอร์ถือเป็นเครื่องมือทำมาหาเลี้ยงชีพของชาวโปรแกรมเมอร์เลยทีเดียว ทักษะพื้นฐานความเข้าใจต่าง ๆ ต้องเรียกได้ว่าอยู่ในสายเลือด
  • ทักษะเฉพาะทางในการเขียนโปรแกรมทักษะเฉพาะที่จำเป็นต้องมีสำหรับโปรแกรมที่ต้องเขียนและพัฒนาโปรแกรม ถ้าหากยิ่งพัฒนาการเขียนได้หลากหลายภาษาแล้วก็จะยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
  • ทักษะการวิเคราะห์การวิเคราะห์เป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานสร้างสรรค์ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก โปรแกรมเมอรต้องคิดวิเคราะห์ความเป็นไปของระบบ และข้อดีข้อเสียต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดแม่นยำ
  • ทักษะการแก้ไขปัญหาการแก้ไขปัญหาเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำงานนี้ เพราะเมื่อตรวจสอบข้อผิดพลาด ต้องสามารถแก้ไขปัญหาที่พบเพื่อให้โปรแกรมทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ และทันเวลา

เส้นทางสู่อาชีพ

การศึกษา

ในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์นักศึกษาจะได้เรียนรู้ทักษะรวมทั้งภาษาทางคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ นอกจากนี้ยังได้ฝึกฝนการเขียนโปรแกรม ทดสอบ แก้ไขข้อผิดพลาดและทำงานอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานในอนาคต ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นักคอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมโดยการศึกษาในหลักสูตรพิเศษและการเข้าร่วมสัมมนาในเรื่องใหม่ๆ เช่น การเรียนภาษาทางคอมพิวเตอร์ หรือการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ โดยสาขาวิชาที่เกี่ยวได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หรือวิศวกรรมซอฟแวร์ และสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

สถาบันที่เปิดรับ ได้แก่

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ (ในพระบรมราชูปถัมภ์)

รายวิชาจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

xxx

คำแนะนำสำหรับพัฒนาตนเอง

Hard Skill

  • หาความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาลภาษาซีและซีพลัสพลัส (C และ C++) ภาษา Visual Basic ภาษาจาวา (Java) เป็นต้น
  • พัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ฝึกฝนและทำความเข้าใจหลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง Hardware และ Software ทั้งในระดับพื้นฐานและระดับสูงขึ้น
  • ค้นหาและคอยอัพเดทข่าวสารเรื่องโปรแกรมใหม่ๆ ทั้งจากไทยและต่างประเทศ

กิจกรรมต่างๆ

  • สมัครเข้าเรียนคอร์สสั้นๆ เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมตามคอร์สออนไลน์หรือสถาบันที่เปิดสอนด้านทักษะทางคอมพิวเตอร์
  • ในประเทศไทย มีสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ที่สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของวงการโปรแกรมเมอร์ไทยได้
  • ลองเข้ามาฝึกงานกับโครงการ ทำ ก่อน ฝัน ของ ทรูปลูกปัญญา ที่เปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้ลองทำงานจริงกับพี่ ๆ โปรแกรมเมอร์มืออาชีพ

อาชีพใกล้เคียง

อาชีพใกล้เคียงหรือมีลักษณะงานคล้ายคลึงกัน อาทิ

  • Web Programmer / Developer
  • Application Developer
  • System Analyst
  • IT Admin / Network Admin